top of page
Writer's pictureBaan Boon Brooms

Jumping the Broom พิธีกระโดดไม้กวาดในงานแต่งงาน, แด่ความรัก สิทธิและอิสรภาพ


CELEBRATING THE MONTH OF LOVE,


ต้อนรับเดือนแห่งความรักที่ทั่วโลกร่วมกันเฉลิมฉลอง

บ้านบูรณ์ขอนำเสนอหนึ่งประเพณีในงานแต่งงานที่เกี่ยวกับ ‘ไม้กวาด’ ของใช้ประจำบ้านที่มีบทบาทในวัฒนธรรมของหลายทวีปทั่วโลก อีกทั้งร่วมแชร์เกร็ดความรู้ในช่วงท้ายของบทความสำหรับท่านใดที่กำลังศึกษาพิธีกระโดดไม้กวาด หรือ Jumping the broom เพื่อนำไปจัดในงานแต่งงาน



“Jumping the Broom”


พิธีกระโดดไม้กวาดเป็นส่วนหนึ่งในพิธีแต่งงานที่เป็นที่นิยมในอเมริกา มักเป็นการปฎิบัติปิดท้ายหลังจากคู่แต่งงานกล่าวคำปฎิญาณต่อกัน ทั้งคู่จะจับมือกันและกระโดดข้ามไม้กวาดเพื่อสื่อถึงการรวมเป็นหนึ่ง ทิ้งเรื่องราวเก่าๆ และเริ่มต้นใหม่ โดยไม้กวาดที่นำมาใช้ในพิธีจะถูกเก็บรักษาไว้เพื่อส่งต่อให้กับคนรุ่นต่อไปหลังจากพิธีแต่งงานจบลง



“พิธีกระโดดไม้กวาดและอิสรภาพในการแสดงออกถึงความรัก”


แต่เดิมพิธีกระโดดไม้กวาดนั้นเป็นที่ปฎิบัติกันในกลุ่มแอฟริกัน-อเมริกัน เริ่มต้นปีค.ศ. 1840-1850 ในช่วงที่ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่มีกฎหมายรองรับการสมรสของกลุ่มแอฟริกัน-อเมริกัน ซึ่งถูกขายเป็นทาสของชาวอเมริกันในช่วงเวลานั้น ของใช้ประจำบ้านอย่างไม้กวาดจึงถูกนำมาใช้ในพิธีแต่งงานของกลุ่มแอฟริกัน-อเมริกัน โดยพิธีแต่งงานจะถูกจัดขึ้นอย่างเรียบง่ายในที่พักอาศัย ล้อมวงด้วยครอบครัวและมิตรสหายร่วมเป็นพยาน และเมื่อคู่รักจับมือกันและกระโดดข้ามไม้กวาด ล้วนถือเป็นลายลักษณ์ของการสมรสของทั้งคู่แล้ว


นิตยสาร New York Times ได้สัมภาษณ์ผู้เขียนหนังสือ Jumping the Broom: The Surprising Multicultural Origins of a Black Wedding Ritual โดยเขาได้กล่าวถึงพิธีกระโดดไม้กวาดว่า “เกิดขึ้นจากการที่ผู้คนได้คิดค้น สร้างสรรค์และจินตนาการการกระโดดข้ามไม้กวาดในมุมมองใหม่ที่เติมเต็มสิ่งที่พวกเขาต้องการ” ซึ่งอาจหมายถึงการรวมเป็นหนึ่ง ความเท่าเทียม การละทิ้งสิ่งเก่าเพื่อก้าวข้ามอดีตและเริ่มต้นใหม่ พิธีกระโดดไม้กวาดจากเรื่องราวของกลุ่มแอฟริกัน-อเมริกันเรียกได้ว่าเกิดขึ้นจากการขาดหายของสิทธิในการสมรสที่พึงมีตามกฎหมายและพิธีกระโดดไม้กวาดนี้เองที่แสดงออกถึงความต้องการและจินตนาการไปสู่สังคมที่มีความเท่าเทียมมากขึ้นในปัจจุบัน


ภายหลังในปีค.ศ. 1865 ประเทศสหรัฐอเมริกายกเลิกทาสอย่างเป็นทางการ ทำให้พิธีกระโดดไม้กวาดกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพที่สืบต่อกันในพิธีแต่งงานของกลุ่มแอฟริกัน-อเมริกัน เพื่อระลึกถึงคนรุ่นก่อนที่ถูกจำกัดทางเลือกและถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ที่รวมกันเป็นหนึ่ง

“ความรักนำมาซึ่งการยอมรับและอิสรภาพในสังคม”


ต่อมาในปีค.ศ. 1976 พิธีกระโดดไม้กวาดเริ่มรู้จักในสื่อวงกว้างจากนิยายและละครสั้นเรื่อง Roots (1976) เขียนโดย Alex Haley ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของเด็กชายชาวแอฟริกันที่ถูกขายเป็นทาสในอเมริกาเหนือ พร้อมกับถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มแอฟริกัน-อเมริกันที่มักไม่ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยนิยายและละครสั้นเรื่องนี้ตีแผ่ชีวิตและวัฒนธรรมออกมาได้ละเอียดและลึกซึ้งจนสร้างความตระหนักในวัฒนธรรมที่แตกต่าง (cultural sensation) ขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตัวนักเขียนล้วนได้รับแรงบันดาลใจมาจากความรักและความผูกพันในกลุ่มแอฟริกัน-อเมริกัน จากเรื่องเล่าที่ส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่นในครอบครัวของเขา อีกทั้งอิทธิพลจากสื่อในประเทศที่มีการนำเสนอวัฒนธรรมของกลุ่ม อาทิ เพลง Let’s Jump the Broomstick (1960) ขับร้องโดย Brenda Lee ซึ่งเป็นนักร้องผิวขาว ชาวอเมริกัน


โดยพิธีกระโดดไม้กวาดยังคงถูกนำเสนอในสื่อสมัยใหม่ อาทิ ฉากแต่งงานในซีรีย์ Grey’s Anatomy (2005) และภาพยนตร์ Jumping the Broom (2011) กำกับโดย Salim Akil ซึ่งสามารถเห็นรูปแบบการนำเสนอที่เป็นธรรมชาติ ผสมผสานไปกับวัฒนธรรมของเชื้อชาติอื่นๆ ในเรื่อง โดยกลุ่มแอฟริกัน-อเมริกันได้รับการยอมรับและมีอิสรภาพในการนำเสนอเอกลักษณ์ของกลุ่มในสังคมมากขึ้น นั้นต่างเกิดจากสื่อที่รู้ถึงคุณค่าและมอบพื้นที่นำเสนอ และทั้งความรักจากผู้คนที่พร้อมเปิดรับและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับวัฒนธรรมที่แตกต่างในพื้นที่เดียวกัน



สำหรับท่านที่สนใจจัดพิธีกระโดดไม้กวาดในงานแต่งงาน ทางบ้านบูรณ์มีเกร็ดความรู้มาเล่าสู่กันฟัง และสามารถใช้พิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับพิธีกระโดดไม้กวาด:


พิธีกระโดดไม้กวาดสามารถจัดสำหรับงานแต่งงานโดยไม่จำกัดเฉพาะงานแต่งของกลุ่มที่มีเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกัน เนื่องจากมีที่ถกเถียงกันจนได้ข้อสรุปว่าพิธีกระโดดไม้กวาดไม่เพียงเกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มแอฟริกัน-อเมริกันเท่านั้น แต่ความเชื่อเกี่ยวกับไม้กวาดและคู่รักนั้นเกิดขึ้นทั่วโลก


ในปีค.ศ. 1559 ศิลปินเบลเยี่ยม Pieter Bruegel ได้วาดภาพ Netherlandish Proverbs (1559) ในภาพนำเสนอสุภาษิตและสำนวนของชาวดัสช์ ซึ่งมีสำนวน ‘Marrying under the broomstick’ เป็นภาพคู่รักชายหญิงที่แอบพลอดรักกันใต้ไม้กวาด—มุมบนซ้ายของภาพ ซึ่งเชื่อมโยงกับบทวิจัยระบุว่าพิธีกระโดดไม้กวาดนั้นเริ่มต้นจากชาวดัสช์ในประเทศเวลส์และชาวโรมานี (ชาวยิปซี)


นอกเหนือจากพิธีกระโดดไม้กวาดในงานแต่งงานแล้ว ไม้กวาดยังมีเรื่องเล่าที่น่าสนใจบันทึกในประวัติศาสตร์มากมาย:

  • นายกรัฐมนตรี John Robarts เคยเดินผ่านซุ้มไม้กวาดเพื่อเป็นเกียรติในการเปิดตึกใหม่ของมหาวิทยาลัยยอร์ก (York University) ดูภาพประกอบ

  • ผู้จัดงาน AL White และผู้จัดการ High Park Curling Club Lundry Carre ใช้ไม้กวาดในการทดสอบลานน้ำแข็งสำหรับแข่งกีฬา Curling ดูภาพประกอบ

  • ในเทศกาล Epiphany Eve ของชาวอิตาลี ไม้กวาดจิ๋วถูกนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องรางคู่กับแม่มด Befana ที่มักนำของขวัญมาให้เด็กๆ ตามเรื่องเล่าในนิทานพื้นบ้าน

_


สามารถสั่งซื้อและดูรายละเอียดไม้กวาดดอกไม้ (Floral Broom) จากแบรนด์บ้านบูรณ์:


_

#floralbroom #ไม้กวาดบ้านบูรณ์

#ไม้กวาดดอกไม้



เขียนและเรียบเรียง จิรัชญา พิภพลาภอนันต์

ภาพประกอบ ณัฐธิดา สงวนถ้อยคำ (ig: @audiaudi)



อ้างอิง

Aeonmag. (2023, February 13). Broomstick weddings and the history of the Atlantic World: Aeon Essays. Aeon. Retrieved February 13, 2023, from https://aeon.co/essays/broomstick-weddings-and-the-history-of-the-atlantic-world


Cajun wedding traditions. (n.d.). Retrieved February 13, 2023, from https://www.louisianafolklife.org/lt/articles_essays/cajun_wed.html


Lao-Kaim, A. (2020, November 26). Everything you need to know about jumping the broom. Weddings. Retrieved February 13, 2023, from https://www.hitched.co.uk/wedding-planning/organising-and-planning/jumping-the-broom/


Marsha Reeves-JewsMarsha Jews is the Editor-At-Large(USA) for World Bride Magazine and the founder of Marsha Jews & Company a full service marketing. (2015, March 10). Jumping the broom: A beautiful symbolic wedding tradition - world bride magazine. World Bride Magazine - Sustainability; a healthier life, filled with love, family, and building a family legacy. Retrieved February 13, 2023, from https://worldbridemagazine.com/7354/jumping-broom-beautiful-symbolic-wedding-tradition/


Royall, B. B. (2022, February 26). The enduring significance of jumping the broom. The New York Times. Retrieved February 13, 2023, from https://www.nytimes.com/2022/02/26/style/jumping-the-broom-wedding-tradition.html



188 views0 comments

Comments


bottom of page